094 524 1915 jutha9940@tanaitone.com

นิติกรรมอำพราง

 สัญญาซื้อขายอำพรางสัญญากู้ยืมเงิน
เช่น การทำใบเสร็จรับเงินขายรถยนต์เพื่ออำพรางสัญญากู้ยืมเงิน กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นนิติกรรมอำพราง ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง
สัญญาจำนองที่อำพรางการซื้อขาย
การทำสัญญาจำนองแต่แท้จริงเป็นการซื้อขายนั้นถือเป็นโมฆะ เนื่องจากเป็นนิติกรรมอำพราง ประมวลกฎหมายฯ มาตรา 155 วรรคหนึ่ง สำหรับสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 456 วรรคหนึ่ง หากไม่ทำตามนี้ถือว่าสัญญาซื้อขายนั้นเป็นโมฆะ
สัญญาจำนองไม่สามารถถือเป็นแบบของสัญญาซื้อขายได้ เนื่องจากทั้งสองสัญญามีวัตถุประสงค์ของนิติกรรมที่แตกต่างกัน
 สัญญาซื้อขายอำพรางสัญญาให้
กรณีที่สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ถูกอำพรางเพื่อเป็นสัญญาให้โอนกรรมสิทธิ์นั้น แม้จะมีค่าตอบแทนแตกต่างกัน แต่ก็ถือว่าสัญญาซื้อขายนั้นเป็นการทำหนังสือและจดทะเบียนสำหรับการให้ที่ถูกอำพราง ดังนั้นนิติกรรมการให้จึงไม่เป็นโมฆะ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 6342/2552 #ทนายโตน

ติดต่อสำนักงาน

144/165 หมู่ 4 ตำบล ห้วยเหนือ อำเภอ ขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ

jutha9940@tanaitone.com

094 524 1915

ติดต่อเรา

สงวนลิขสิทธิ์ © 2565 ขอสงวนสิทธิ์ทั้งหมดตามกฎหมาย